ลูกกี่เดือนพาออกนอกบ้านได้อย่างปลอดภัย สบายใจ หายห่วง


เด็กในวัยทารกนั้น ยังเป็นวัยที่บอบบางและยังไม่แข็งแรง การดูแลเด็กทารกจึงต้องมีความพิถีพิถันและเอาใจใส่เป็นพิเศษ และแน่นอนว่าคุณแม่หลาย ๆ ท่านอาจจะมีความจำเป็นต้องพาลูกน้อยออกจากบ้าน แต่ลูกกี่เดือนพาออกนอกบ้านได้ล่ะ?

การพาลูกออกนอกบ้านนั้นจะต้องใส่ใจอย่างละเอียด เพราะเด็กในช่วงวัยทารกนี้เป็นช่วงที่พัฒนาการทางด้านต่าง ๆ ยังไม่แข็งแรงสมบูรณ์มากนัก จึงอาจส่งผลต่อสุขภาพและพัฒนาการด้านต่าง ๆ ต่อทารกได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการพาทารกออกจากบ้านในวัยที่อายุต่ำกว่า 1 เดือน หากเดินทางไปในสถานที่ที่มีคนเยอะ ๆ ก็อาจทำให้เด็กเกิดการติดเชื้อได้

พาลูกออกนอกบ้านได้ตอนกี่เดือน

โดยปกติทั่ว ๆ ไปแล้ว ไม่มีอายุที่ระบุไว้อย่างชัดเจนว่าทารกอายุเท่าใดถึงจะสามารถออกนอกบ้านได้ แต่ทารกที่อายุยังน้อย ในวัยทารกแรกเกิดจนถึงสามเดือน ภูมิคุ้มกันอาจยังไม่สามารถทำงานได้อย่างเต็มที่ เมื่อมีการติดเชื้อต่าง ๆ จึงอาจทำให้เกิดอันตรายถึงชีวิตได้

นอกจากนี้เด็กเล็ก ๆ ในวัยนี้ยังไม่ผ่านการฉีดวัคซีน หรือหากฉีดวัคซีนเพียงเข็มแรกแล้วก็อาจจะยังมีภูมิคุ้มกันที่ไม่ดีมากพอ จึงทำให้ร่างกายไม่สามารถต่อสู้กับโรคต่าง ๆ ได้ จึงทำให้สามารถติดเชื้อต่าง ๆ ได้ง่าย จึงต้องระมัดระวังเป็นพิเศษ โดนเฉพาะการติดเชื้อในกระแสเลือดและระบบประสาท

แต่เมื่อทารกอายุมากขึ้น เช่น อายุหกเดือน เด็กในวัยนี้ยังคงสามารถติดเชื้อได้ง่ายอยู่ โดยเฉพาะการติดเชื้อทางระบบทางเดินหายใจ เนื่องจากภูมิต้านทานที่ได้จากคุณแม่เริ่มหมดไป ทารกในวัยนี้จึงจำเป็นต้องพึ่งพาภูมิคุ้มกันจากตัวเองหรือภูมิคุ้มกันจากวัคซีนที่ได้รับ ร่วมกับภูมิคุ้มกันที่ได้จากนมแม่

วิธีป้องกันการติดเชื้อ เมื่อต้องพาลูกออกนอกบ้าน

การพาลูกออกนอกบ้าน สิ่งที่ต้องระวังเป็นพิเศษคือเรื่องสุขอนามัยของลูกน้อย โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อต้องเดินทางไปในที่ที่มีผู้คนพลุกพล่าน ลูกอาจเกิดการติดเชื้อจากน้ำลาย น้ำมูก เสมหะ จึงควรต้องเตรียมตัวและป้องกัน โดยเรามีวิธีป้องกันการติดเชื้อในเด็กทารก ดังนี้

  • เลือกสถานที่ที่ปลอดโปร่ง คนไม่เยอะ ไม่แออัด เพื่อป้องกันการติดเชื้อทางระบบทางเดินหายใจและเชื้อโรคอื่น ๆ
  • ไม่อนุญาตให้ใครเข้าใกล้ทารกโดยไม่จำเป็น โดยเฉพาะผู้ที่กำลังป่วย
  • ดูแลทารกไม่ให้เอามือหรือหยิบสิ่งของต่าง ๆ เข้าปาก
  • ล้างมือให้สะอาดทั้งคุณแม่และลูกน้อย
  • เลือกเสื้อผ้าที่ให้ความอบอุ่นมากเพียงพอแก่ลูกน้อย

เพิ่มความปลอดภัยขณะเดินทาง

การเดินทางด้วยรถยนต์ส่วนตัวจะช่วยลดโอกาสการติดเชื้อลงได้ แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น คุณแม่ต้องเตรียมคาร์ซีทเพื่อความปลอดภัยของลูกน้อย

คาร์ซีทนั้นมีความสำคัญอย่างมากขณะเดินทาง โดยเฉพาะอย่างยิ่งคาร์ซีท ทารกแรกเกิด เพื่อป้องกันอันตราย ความรุนแรงที่เกิดขึ้นจากอุบัติเหตุ และลดโอกาสที่กระดูกต้นคอหักอันเนื่องมาจากอุบัติเหตุอีกด้วย

คาร์ซีทที่เราแนะนำนั้น ควรเป็นคาร์ซีทที่มีคุณภาพ ได้มาตรฐาน มีความแข็งแรงทนทาน และสามารถโอบรับรอบศีรษะของเด็กทารกได้อย่างพอดี

Global Kids คาร์ซีทสำหรับเด็ก 0-10 ขวบ  

คาร์ซีทมาตรฐานจากยุโรป ผลิตจากโรงงานเดียวกับแบรนด์ระดับโลก ด้วยมาตรฐานความปลอดภัยระดับสูง สามารถรองรับศีรษะของเด็กได้อย่างพอดี คุณภาพสูง พร้อมระบบความปลอดภัยดีเยี่ยม สามารถปรับระดับได้มากถึง 11 ระดับ มอบความสะดวกสบายในการติดตั้ง นั่งสบาย ไม่อึดอัด โครงสร้างของเบาะถูกออกแบบมาให้สามารถรองรับทั้งการนั่งและการนอน สามารถปรับได้เพื่อให้เหมาะสมกับสรีระร่างกายของเด็ก

FIN Carseat รุ่น HB01 (สำหรับเด็ก 0-4 ปี)

คาร์ซีทคุณภาพดีมาตรฐานสหภาพยุโรป สามารถปรับระดับการเอนได้ 3 ระดับ และสามารถปรับสายรัดตัวให้กระชับกับสรีระร่างกายของลูกน้อยได้ เบาะทำจากวัสดุฟองน้ำอย่างดี สามารถติดตั้งได้กับรถยนต์ทุกรุ่น สามารถรองรับน้ำหนักเด็กได้ตั้งแต่ 0-18 กิโลกรัม

คำแนะนำในการใช้คาร์ซีท

ในการให้เด็กทารกนั่งคาร์ซีทนั้น ควรปรับตำแหน่งสายคาดนิรภัยของรถยนต์ให้พอดีกับลำตัวของเด็ก เพื่อกระจายแรงกระแทกและไม่ให้เด็กทารกได้รับอาการบาดเจ็บมาก ตำแหน่งเข็มขัดนิรภัยที่เหมาะสมคือพาดเฉียงข้ามไหล่และต้องอยู่ในตำแหน่งกึ่งกลางของไหล่ด้านที่สายพาดผ่านกึ่งกลางหน้าอก ห้ามพาดอยู่บนคอเด็ก ส่วนสายพาดบริเวณหน้าตักห้ามพาดอยู่บนสะโพกของเด็ก

การติดตั้งคาร์ซีทที่ถูกต้องคือการติดตั้งที่เบาะหลัง ซึ่งเป็นตำแหน่งที่ปลอดภัยกว่าเบาะหน้า และป้องกันการกระแทกจากถุงลมนิรภัยเมื่อเกิดอุบัติเหตุ

ยาที่ต้องเตรียมเมื่อพาลูกออกจากบ้าน

เมื่อพาลูกออกจากบ้าน สิ่งหนึ่งที่คุณแม่ต้องระวังคืออาการเจ็บป่วยของลูกน้อย การเตรียมกระเป๋ายาเบื้องต้น จะเป็นการเตรียมตัวรับมือกับอาการเจ็บป่วยได้อย่างทันท่วงที ยาที่ต้องเตรียมระหว่างเดินทาง มีดังนี้

  1. ยาแก้ปวดลดไข้
  2. ยาบรรเทาอาการหวัดคัดจมูก
  3. ยาแก้คลื่นไส้อาเจียน
  4. น้ำเกลือแร่
  5. ยาแก้แพ้สำหรับผื่นคัน
  6. ยาทาแก้ผื่นแพ้
  7. ยาปฏิชีวนะแบบที่ใช้ทา
  8. อุปกรณ์อื่น ๆ เช่น พลาสเตอร์ยา สำลี เป็นต้น

เมื่อเตรียมพร้อมครบทุกอย่างแล้ว การพาลูกน้อยออกจากบ้านก็ไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไป แต่อย่าลืมนะคะ ว่าการพาลูกออกนอกบ้านนั้น จำเป็นต้องระมัดระวังเรื่องความสะอาด สุขอนามัย และความเสี่ยงต่อการติดเชื้อจากภายนอก ถึงแม้ว่าจะไม่มีการระบุอย่างชัดเจนว่าลูกกี่เดือนพาออกนอกบ้าน แต่การรอให้เด็กโตขึ้นสักหน่อย ภูมิคุ้มกันจะทำงานได้ดียิ่งขึ้น และเสี่ยงต่อการติดเชื้อน้อยลงค่ะ

Ploy

พลอยยินดีแบ่งปันข้อมูลดี ๆ เกี่ยวกับการเลี้ยงลูก ซึ่งมาจากทั้งการค้นคว้าด้วยตัวเอง รวมถึงประสบการณ์ตรงจากการเลี้ยงลูกของพลอยเอง หากคุณแม่ท่านไหนกำลังมองหาข้อมูลดี ๆ เกี่ยวกับการเลี้ยงลูก บล็อกนี้มีข้อมูลที่คุณแม่ต้องการค่ะ :)

Recent Posts