ทารกนอนไม่หลับ คุณแม่จะแก้ไขอย่างไรดี


แม่ ๆ หลายคนมักจะประสบกับปัญหาทารกนอนไม่หลับ ลูกตื่นบ่อยตอนกลางคืน คุณแม่จะมีวิธีการรับมือและแก้ไขปัญหานี้กันอย่างไร เพื่อให้ลูกน้อยหลับสบายมากขึ้น และหลับได้ง่ายมากกว่าเดิม

ก่อนที่เราจะมาพูดคุยกันถึงปัญหาการนอนไม่หลับของลูก คุณแม่ต้องทำความเข้าใจพฤติกรรมการนอนของลูกในแต่ละช่วงวัยเสียก่อน โดยทั่ว ๆ ไปนั้น ระยะเวลาในการนอนของเด็กทารกในแต่ละช่วงวัยจะมีความแตกต่างกัน รวมถึงพฤติกรรมการนอนจะมีความแตกต่างกันไปตามแต่ละช่วงวัย โดยเราสามารถแบ่งได้ดังนี้

การนอนของทารกในช่วงอายุ 0-3 เดือน

ช่วงระยะเวลาการหลับและการตื่นจะมีระยะเวลาเท่า ๆ กัน ทั้งเวลากลางวันและกลางคืน คือประมาณ 20 ชั่วโมงต่อวัน และจะมีเวลาตื่นที่ไม่แน่นอน โดยจะมีการเปลี่ยนแปลงไปทุก ๆ สัปดาห์ และเด็กในวัยนี้จะนอนในช่วงกลางวันมากกว่าช่วงกลางคืน นั่นเป็นสาเหตุที่คุณแม่ต้องตื่นมากลางดึกเพราะเสียงร้องของเจ้าตัวเล็ก แต่ทารกจะมีการปรับมานอนตอนกลางคืนตามปกติได้ในไม่ช้า

การนอนของทารกในช่วงอายุ 3-6 เดือน

ช่วงวัยนี้ เด็กทารกจะนอนหลับในช่วงเวลากลางวันน้อยลง และนอนในช่วงกลางคืนมากยิ่งขึ้น โดยจะมีการนอนหลับรวดเดียวไปจนถึงตอนเช้า เด็กในช่วงวัยนี้จะต้องการการนอนหลับเป็นระยะเวลา 15-16 ชั่วโมง

สาเหตุที่ทำให้เด็กทารกนอนไม่หลับ หลับยาก ตื่นบ่อยตอนกลางคืน

เมื่อเจ้าตัวเล็กนอนไม่หลับ หรือตื่นบ่อยในช่วงเวลากลางคืน สิ่งแรกที่คุณแม่ควรนึกถึงคือสาเหตุใดที่ทำให้เป็นเช่นนี้ เพื่อที่จะได้สามารถหาทางแก้ไขและรับมือกับปัญหาเหล่านี้ เรามาดูกันดีกว่าค่ะ ว่าสาเหตุหลัก ๆ ของอาการนอนไม่หลับในเด็กทารก มีอะไรบ้าง

ลูกนอนหลับไม่สบายตัว

สาเหตุที่ลูกนอนหลับไม่สบายตัวนั้นอาจเนื่องมาจากการที่อากาศไม่ถ่ายเท ความชื้น อุณหภูมิที่ร้อนหรือหนาวจนเกินไป แมลงกัด ใส่เสื้อผ้าไม่สบายตัว เกิดอาหารคันจากผื่น หรือผ้าอ้อมทำให้ลูกไม่สบายตัว สาเหตุเหล่านี้อาจจะทำให้เด็กทารกตื่นบ่อยในช่วงเวลากลางคืน

ลูกนอนตอนกลางวันมากจนเกินไป

อีกหนึ่งสาเหตุที่ลูกไม่ยอมนินตอนกลางคืน นั่นอาจจะเป็นเพราะลูกนอนในช่วงเวลากลางวันมากจนเกินไป ดังนั้นควรกำหนดช่วงเวลาการนอนอย่างเป็นกิจจะลักษณะ หากิจกรรมทำร่วมกับลูกในช่วงเวลากลางวัน เพื่อให้ลูกได้นอนในช่วงเวลากลางคืนอย่างเต็มที่

สภาพแวดล้อมไม่เหมาะสมกับการนอนหลับ

ปัจจัยด้านสภาพแวดล้อมก็ส่งผลต่อการนอนหลับของเด็กทารกได้ด้วยเช่นเดียวกัน เช่น มีเสียงรบกวนขณะนอนหลับ หรือมีแสงจ้ามากจนเกินไป ปัจจัยเหล่านี้มักจะรบกวนการนอนหลับของเด็กทารกได้ การจัดสรรสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมแก่การนอนหลับจึงเป็นเรื่องที่ควรใส่ใจ

ลูกนอนไม่หลับเพราะหิว

หลาย ๆ ครั้งที่ทารกมักตื่นมาช่วงกลางดึกเพราะรู้สึกหิว ดังนั้นก่อนถึงเวลาเข้านอน แนะนำให้ลูกดื่มนมก่อน เพื่อหลีกเลี่ยงปัญหาลูกตื่นนอนเพราะหิวกลางดึก

ข้อควรปฏิบัติเพื่อการนอนหลับที่มีคุณภาพของลูกน้อย

หากต้องการให้ลูกน้อยนอนหลับสนิทอย่างมีประสิทธิภาพ แนะนำให้ทำตามข้อควรปฏิบัติดังนี้ค่ะ

จัดหาเตียงหรือเบาะนอนนุ่ม ๆ สบาย ๆ ให้ลูกนอน

เราไม่แนะนำให้อุ้มเดินและให้เด็กหลับคาอกแล้วจึงค่อยนำลูกลงไปวางบนเตียงหรือเบาะนอน เพราะลูกจะติดกิจวัตรระจำวันแบบนี้ และอาจทำให้ลูกหลับยากหากวันไหนคุณแม่ไม่อุ้มก่อนนอน

จัดสภาพแวดล้อมให้เหมาะสมกับการนอนหลับ

ทั้งเรื่องเสียงและเสียง ไม่ควรมีแสงจ้ามากจนเกินไป เพราะจะรบกวนการนอนหลับของลูกน้อย อีกทั้งยังควรเป็นสถานที่ที่สงบ เงียบ เพื่อการนอนหลับอย่างมีประสิทธิภาพ

ไม่กระตุ้นหรือเล่นกับลูกก่อนนอน

การเล่นกับลูกในช่วงก่อนนอนอาจทำให้เด็กรู้สึกถูกกระตุ้นและทำให้เด็กตื่นเต้นจนนอนไม่หลับ หากต้องการทำกิจกรรมกับลูกในช่วงก่อนนอนจริง ๆ แนะนำให้เปลี่ยนเป็นการอ่านหนังสือนิทานให้ลูกฟัง หรือชวนคุยจนกว่าลูกจะเคลิ้มหลับไป

เมื่อลูกตื่นนอนกลางดึก จะทำอย่างไรดี

เอาล่ะค่ะ คุณแม่… หากตอนนี้กำลังประสบปัญหาลูกตื่นขึ้นมากลางดึก เราต้องเตรียมตัวรับมือกับสถานการณ์นี้ให้ดี หากทำได้ ลูกจะไม่งอแง และช่วยลดปัญหาลูกตื่นมากลางดึกอย่างแน่นอน มีเคล็ดลับอะไรบ้างนั้น เรามาดูกันเลยดีกว่า

อุ้มลูกเดินขึ้น-ลงบันได

อุ้มลูกขึ้นบ่า จากนั้นพาไปเดินเล่นโดยเดินขึ้นและลงบันได ลูกจะหยุดร้องและค่อย ๆ เคลิ้มหลับไป วิธีการเดินขึ้นและลงบันไดให้ย่อขาไปด้วย เพื่อลดการกระแทกขณะเดินขึ้นลงบันไดค่ะ

อุ้มลูกในท่าคว่ำ

อุ้มลูกในท่าคว่ำโดยการสอดแขนไปใต้หว่างขาลูก ให้ลูกนอนคว่ำไปบนแขนทั้ง 2 ข้าง จากนั้นแกว่งลูกไปมา ไม่นานลูกจะหยุดร้องไห้และเคลิ้มหลับไปเองค่ะ แต่อย่าแกว่งแรงจนเกินไปนะคะ เพราะอาจเกิดอันตรายกับลูกได้

สร้างความอบอุ่นให้ลูกน้อย

เด็กทารกที่เพิ่งคลอดนั้น มักจะต้องการความอบอุ่นและการโอบอุ้ม เสมือนตอนที่อยู่ในท้องแม่ เพราะร่างกายยังปรับตัวให้คุ้นชินกับสภาพแวดล้อมภายนอกไม่ได้ แนะนำให้ห่อตัวลูกด้วยผ้านุ่ม ๆ จะช่วยให้ลูกหยุดร้องและนอนหลับสบายมากยิ่งขึ้น

ไม่ยากเลยใช่ไหมคะ กับการจัดการให้ลูกน้อยนอนหลับได้อย่างสบายเนื้อสบายตัว แต่หากลูกยังร้องไห้งอแงไม่หยุด ทั้ง ๆ ที่ทำทุกอย่างทุกขั้นตอนแล้ว เราแนะนำให้พาลูกไปพบคุณหมอเพื่อตรวจร่างกายว่ามีอาการเจ็บป่วยอะไรหรือไม่ เพื่อที่สามารถหาหนทางในการป้องกันและแก้ไขได้อย่างถูกต้องค่ะ

Ploy

พลอยยินดีแบ่งปันข้อมูลดี ๆ เกี่ยวกับการเลี้ยงลูก ซึ่งมาจากทั้งการค้นคว้าด้วยตัวเอง รวมถึงประสบการณ์ตรงจากการเลี้ยงลูกของพลอยเอง หากคุณแม่ท่านไหนกำลังมองหาข้อมูลดี ๆ เกี่ยวกับการเลี้ยงลูก บล็อกนี้มีข้อมูลที่คุณแม่ต้องการค่ะ :)

Recent Posts